การนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงหรือ?

การนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้จำนวนมาก ทำได้อย่างไร? มาดูกันค่ะ

ความลับของพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศ

ปัจจุบันมีกฎหมายที่บังคับให้ทุกบริษัทต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจผ่านการปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรมและโปร่งใสหรือที่เราเรียกว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หลายๆ บริษัทจึงต้องหาแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการใช้พลังงานโดยที่ไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือหลายบริษัทเริ่มเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือแผงโซล่าเซลล์ Atlas Copco มีอีกหนึ่งความลับที่จะช่วยให้คุณใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มอีกระดับ

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) นอกจากจะส่งผลกระทบด้านลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านพลังงานหรือค่าไฟอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตจึงพยายามหาวิธีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บวกกับการลดการใช้พลังงาน โดยคงประสิทธิภาพในการผลิตรวมถึงวิธีลดค่าไฟฟ้าในโรงงาน

แต่รู้หรือไม่ว่ามีพื้นที่หนึ่งในโรงงานคุณ ที่สามารถช่วยคุณลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ซึ่งก็คือการนำพลังงานความร้อนที่เหลือทิ้งจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) กลับมาใช้ใหม่ แม้ว่าการนำพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Compressed Air Heat Recovery) นี้จะเป็นที่ที่ยมในโรงงานผลิตต่างๆ ที่มีระบบอัดอากาศทั่วโลก แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในประเทศไทยเนื่องจากความซับซ้อนของระบบ อย่างไรก็ตามเรามีผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าเราได้รับประโยชน์จากการนำพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่  (Compressed Air Heat Recovery) ซึ่งเป็นวิธีลดค่าไฟฟ้าในโรงงานได้จริง คุณสามารถดูได้จากข้อมูลสถิติด้านล่างนี้

จากข้อมูลสถิติข้างต้นแสดงให้เราเห็นว่าต้นทุนในกระบวนการผลิตอากาศอัดนั้นคิดเป็นประมาณ 12% ของต้นทุนพลังงานทั้งหมด ซึ่งหากเป็นในส่วนของโรงงานผลิตที่มีเครื่องจักรต่างๆ ค่าไฟก็อาจพุ่งสูงถึง 40% เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามเราสามารถกู้คืนนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในกระบวนการผลิตอากาศอัดกลับมาใช้ใหม่ได้โดยที่พลังงานที่จะสูญเสียไปนี้จะแผ่รังสีสู่บรรยากาศหรือผ่านระบบระบายความร้อน ทั้งนี้เราสามารถลดค่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เครื่องอัดอากาศปล่อยออกมาทุกๆ กิโลวัตต์ที่ผลิตได้ ซึ่งหากเราลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการนี้ลงจะช่วยลดค่าไฟในระบบอัดอากาศเพิ่มขึ้น

ระบบอัดอากาศผลิตความร้อนได้อย่างไร?

การสร้างและปล่อยความร้อนถือเป็นหนึ่งในกระบวนการผลิตอากาศอัด ซึ่งเป็นธรรมชาติที่เครื่องอัดอากาศจะบีบให้ปริมาณของอากาศเข้าไปในช่องว่างเดียวกันมากขึ้น ปัญหาคือเราต้องทำให้อากาศเย็นลงก่อน ปริมาณของอากาศจึงจะเข้าไปในช่องว่างนั้นได้ โดยในระบบอัดอากาศจะได้รับการระบายความร้อนสองครั้ง คือระหว่างขั้นตอนการบีบอัดและในตอนท้ายหลังจากที่มีการบีบอัดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตัวอินเตอร์คูลเลอร์ (Intercoolers) จะทำหน้าที่ระบายความร้อนในขั้นที่หนึ่งและขั้นที่สอง และเครื่องระบายความร้อน (after-coolers) จะขจัดความร้อนที่เกิดขึ้นหลังจากขั้นตอนที่สอง

Heat Recovery คืออะไร ?

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบสกรู (screw compressor) จะเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 100% โดยพลังงานเหล่านี้สามารถกลับมาใช้ใหม่ได้ 

เรามีวิธีนำความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Compressed Air Heat Recovery) อย่างไร?

ตัวระบายความร้อนหรือคูลเลอร์ (Coolers) จะระบายความร้อนออกจากอากาศอัดทำงานโดยใช้อากาศ น้ำหรือน้ำมันแลกเปลี่ยนความร้อนในระบบ อากาศจะถ่ายเทความร้อนไปยังตัวกลางทำความเย็นในเครื่องคูลเลอร์ที่ออกแบบมาตามอัตราการไหลของลม (Flow rate) และความต้องการในการถ่ายเทพลังงาน ระบบระบายความร้อนที่ใช้ในระบบอัดอากาศมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันและบางประเภทสามารถนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 94% ของพลังงานที่สญเสียไป ซึ่งเป็นวิธีลดค่าไฟฟ้าในโรงงาน

ระดับของการนำพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Compressed Air Heat Recovery)

ปกติแล้วในกระบวนการผลิตอากาศอัดโดยเฉพาะเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมขนาดเล็กและขนาดกลางจะมีการติดตั้งระบบระบายความร้อน เนื่องจากตัวทำระบายความร้อนจะทำให้อากาศที่ผ่านการบีบอัดเย็นลงโดยใช้อากาศที่มีแรงดันต่ำกว่าอัดเข้าไป ในต่างประเทศที่มีอากาศหนาวจะใช้ลมร้อนที่เราได้จากกระบวนการนี์เพื่อให้ความอบอุ่นในอาคารแทนการใช้ฮีทเตอร์ ทำให้ประหยัดพลังงานได้มากรวมถึงลดการซื้อความร้อนจากแหล่งผลิตภายนอก แต่น่าเสียดายที่การนำความร้อนกลับมาใช้แทนฮีทเตอร์นั้นสามารถทำได้แค่ประเทศที่มีอากาศหนาวเท่านั้น ส่วนประเทศไทยหรือประเทศที่มีอากาศร้อนอยู่แล้วจึงไม่สามารถนำวิธีนี้มาใช้ได้ ตัวอย่างการนำพลังงานความร้อนทดแทนมาใช้ในประเทศไทย เช่น โรงไฟฟ้า การใช้ใน boiler เป็นต้น ระบบระบายความร้อนมีสองแบบ:
  1. ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำมัน (Oil-cooled systems) เป็นการใช้การไหลของน้ำมันเพื่อขจัดความร้อนออกจากอากาศอัด ซึ่งในระบบปิดเราสามารถนำน้ำมันกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตได้ และความร้อนจะถูกถ่ายเทเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchanger) ทำให้ไม่ต้องใช้เครื่องทำความร้อนด้วยก๊าซหรือไฟฟ้า (electric / gas heating)

  2. ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water-cooled systems) เป็นระบบที่สามารถเลือกได้ว่าจะเปิดหรือปิดและเลือกได้ว่าจะหมุนเวียนน้ำหรือไม่ แต่การใช้ที่เกิดประโยชน์สูงสุดของระบบนี้คือระบบแบบปิดที่มีน้ำหมุนเวียน เนื่องจากหากมีน้ำไหลเวียนระหว่างตัวระบายความร้อนหรือคูลเลอร์ (air cooler) และเครื่องถ่ายเทความร้อน (heat exchanger) ในกระบวนการจะทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนส่วนเกินจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressors) เข้าสู่กระบวนการผลิต ทำให้ช่วยลดความจำเป็นในการให้ความร้อน ในระบบปิดนั้น คุณภาพน้ำจะได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดโดยใช้สารป้องกันการสะสมของแร่ธาตุ  น้ำในระบบจึงมีประสิทธิภาพและสะอาด ที่สำคัญสามารถใช้งานได้เป็นเวลานานโดยไม่มีการแทรกแซง

การนำพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่จะช่วยลดความจำเป็นในการซื้อพลังงาน เนื่องจากไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้งานฮีทเตอร์ นอกจากนี้ยังลดต้นทุนการใช้งานอีกด้วย  ด้วยเหตุนี้้จึงทำให้โรงงานผลิตของคุณมีกำไรเพิ่มขึ้นและช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการใช้พลังงานโดยที่ไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างการนำพลังงานความร้อนทิ้งในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่

บริษัทผลิตสิ่งทอและยานยนต์ในเมือง Midlands ประเทศอังกฤษได้มีการนำน้ำมันหล่อเย็น (oil coolant) มาใช้ในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (ER-S5 energy recovery unit) จึงสามารถกู้คืนความร้อนจากช่องระบายอากาศของระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยน้ำมันที่ใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายเทความร้อนที่ผ่านเครื่องระบายความร้อนหรือแอร์คูลเลอร์จะถ่ายโอนพลังงานความร้อนเข้ามากระบวนการผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (steel plate heat exchanger) ทำให้มีน้ำร้อนใช้ในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องซื้อจากแหล่งผลิตภายนอก เป็นผลให้ บริษัทสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ถึง 260,000 ตันต่อปีและลดค่าไฟในระบบอัดอากาศได้มากถึง 1,500,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว

อีกตัวอย่างหนึ่งที่มีการนำพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่  (Compressed Air Heat Recovery) คือบริษัท Greiner Packaging เป็นโรงงานบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในประเทศไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งพบการนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่ด้วยหลายหลายวิธี โดยบริษัท Greiner Packaging นั้นใช้ความร้อนส่วนเกินจากระบบอัดอากาศไปใช้กับระบบทำความร้อนส่วนกลางหรือฮีทเตอร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา Dungannon Integrated College ซึ่งมีนักเรียนทั้งหมด 600 คน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากเครื่องทำความร้อนหรือฮีทเตอร์เป็นเงินประมาณ 40,000 ปอนด์เป็นประจำทุกปี ในกรณีนี้ Atlas Copco เราได้ติดตั้งเครื่องอัดลมสกรูแบบไม่มีน้ำมัน (Z-range air compressor) พร้อมกับตัวระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water-cooled systems) เพื่อกู้คืนพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่แทนการใช้ฮีทเตอร์และเครื่องผลิตน้ำร้อน โดยสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 80%  และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ลง 200 เมตริกตันเนื่องจากไม่มีการใช้พลังงานไฟฟ้า

ประโยชน์อื่นๆ ที่ได้จากการนำพลังงานความร้อนทิ้งในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ (heat recovery)

แม้ว่าการนำความร้อนส่วนเกินจากระบบอัดอากาศมาใช้ใหม่จะช่วยให้ประหยัดเงินจำนวนมหาศาล  แต่บริษัท อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับและยังไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้ แม้ว่าเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) เกือบ 90% ในอุตสาหกรรมสามารถติดตั้งระบบกู้คืนนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ได้ และตามที่สถิติระบุไว้ข้างต้น พลังงานความร้อน 70-94% ที่สูญเสียไปจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

จากสถิติพบว่า การนำพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่  (Compressed Air Heat Recovery)  สามารถช่วยการลดค่าไฟในระบบอัดอากาศได้ถึง 1.99%  หรือเทียบเท่ากับการกำจัดการปล่อยมลพิษจากรถยนต์ดีเซล / เบนซินถึง 913,000 คันต่อปีหรือเทียบกับพลังงานที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อนไฟฟ้าจำนวน 1.544 ล้านครัวเรือนต่อปีเลยทีเดียว

โซลูชันการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่

หากมีคำถามเพิ่มเติมคุณสามารถปรึกษาหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand

                                                            

                                                            

                                                            

                                                            

การนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงหรือ?

explainer icon