เลือกคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม (Air Compressor) อย่างไร ให้ตอบสนองความต้องการของคุณได้ดีที่สุด

Wiki สำหรับระบบอากาศอัด 2016 เทคโนโลยี 2018 วิธีการ 2017

ก่อนที่จะซื้อคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมสักเครื่อง คุณควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนเสมอเนื่องจากชนิดของเครื่อง รวมถึงผู้ผลิตและผู้จำหน่ายมีจำนวนมากมายในตลาด หัวข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้นั้นคุณสามารถนำไปใช้เพื่อประกอบการพิจาณาและตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้

GA 22+ FF. Oil-injected screw compressor with built-in refrigereant dryer.Cover image

Atlas Copco

เครื่องแบบ Fixed Speed หรือแบบ VSD ดีกว่ากัน

การจะเลือกว่าคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมแบบ fixed speed หรือแบบ การจะเลือกว่าคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมแบบ fixed speed หรือแบบ การจะเลือกว่าคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมแบบ fixed speed หรือแบบ การจะเลือกว่าคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมแบบ fixed speed หรือแบบ Variable Speed Drive (VSD) อันไหนจะดีกว่ากัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่างานที่คุณทำอยู่นั้นต้องการปริมาณลมเท่าไหร่ ใช้ลมต่อเนื่องสม่ำเสมอหรือไม่ หรือใช้ลมแบบขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งหากงานที่ทำอยู่มีการใช้ลมอัดปริมาณน้อยและความต้องการลมเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ระหว่างวัน คุณควรเลือกใช้คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมแบบ VSD ก็จะตอบโจทย์การทำงานมากกว่า เพราะเครื่องชนิดนี้จะผลิตและควบคุมปริมาณลมให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้ลมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม ในทางกลับกัน หากงานที่คุณทำนั้นต้องการปริมาณลมคงที่สม่ำเสมอ คุณควรเลือกใช้คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมชนิด fixed speed ซึ่งเครื่องจะผลิตลมอัดในปริมาณคงที่ด้วยความเร็วที่กำหนด แต่ถ้างานของคุณต้องการลมอัดในปริมาณมากๆและมีความต้องการลมผันผวนเล็กน้อย ก็ควรเลือกใช้เครื่องชนิด fixed speed เพื่อผลิตลมอัดตามความต้องการลมขั้นพื้นฐานและใช้เครื่องชนิด VSD ผลิตลมในส่วนที่เหลือ

แบบชนิดใช้น้ำมันในการหล่อลื่น หรือแบบไม่มีน้ำมัน อันไหนดีกว่ากัน

หากจะพิจารณาว่างานที่คุณทำอยู่นั้นจำเป็นต้องใช้คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมชนิดหล่อลื่นด้วยน้ำมันหรือชนิดไม่มีน้ำมัน ก็ให้พิจารณาที่ชนิดของงาน หรือผลลัพธ์ปลายทางเป็นหลัก หากงานที่ทำอยู่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของลมซึ่งอาจส่งผลในด้านความปลอดภัยต่อเครื่องจักรหรือชิ้นงาน การเลือกใช้คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมชนิดไม่มีน้ำมัน (Oil-Free) ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมประเภทนี้ไม่ใช้สารหล่อลื่นในระหว่างขั้นตอนการบีบอัด จึงไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารหล่อลื่น คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมชนิดไม่มีน้ำมัน (Oil-Free) มักจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น อาหาร ยา และอุปกรณ์อิเล็กโทรนิค ซึ่งเป็นงานที่ความละเอียดอ่อน ถึงแม้ว่าจะใช้คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมชนิดที่มีน้ำมันหล่อลื่น (Oil-Lubricated) โดยเพิ่มระดับการกรองอย่างดีเพื่อขจัดสารแขวนลอยไฮโดรคาร์บอนที่อาจปนเปื้อนอยู่กับลมอัดเข้าไป ก็ไม่ควรนำไปใช้ในงานที่มีความละเอียดอ่อนเหล่านี้

จะเลือกแบบไหนดีระหว่าง Dynamics กับ volumetric?

ชนิดของคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือประเภทปริมาตรแทนที่ (Volumetric) และประเภทไดนามิกส์ (Dynamics) ซึ่งคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมประเภทVolumetric นั้นจะใช้วิธีปล่อยให้อากาศส่วนหนึ่งเข้าไปให้ห้องอัดอากาศ (chamber) เมื่อทำการอัด ปริมาตรของอากาศจะลดลงซึ่งทำให้เกิดแรงดันเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมแบบลูกสูบ และโรตารี่ ส่วนคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมประเภทไดนามิกส์ ได้แก่คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมแบบหมุนเหวี่ยง (centrifugal compressor) หรือแบบเทอร์โบ (turbo compressor) จะไช้วิธีทำให้อากาศมีความเร็วเพิ่มขึ้นแล้วตามด้วยการเบรคอย่างกระทันหันโดยอาศัยโครงสร้างภายในปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ ทำให้พลังงานจลน์ของอากาศเปลี่ยนเป็นแรงดัน ข้อดีของปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศระเภทนี้คือต้นทุนพลังงานต่ำเมื่อเทียบกับลมอัดที่ได้ เครื่องสามารถผลิตอากาศอัดได้คราวละมากๆ จึงเหมาะสำหรับผู้ใช้งาน หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ก็จะมีข้อจำกัดเมื่อเทียบกับคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมประเภทปริมาตรแทนที่ (volumetric compressor) ในเรื่องของตัวแปรด้านความเร็วที่ปรับเปลี่ยนได้ (variable speed) ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24310