คุณภาพของอากาศอัดกับมาตรฐาน ISO
เพราะคุณภาพของอากาศอัดมีผลต่อผลิตภัณฑ์ ตัวกรองอากาศจึงมีความสำคัญ
“คุณภาพ (quality)” เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องการ ไม่ว่าจะเลือกซื้อสินค้าหรือเลือกบริโภคสิ่งใด เรามักคำนึงถึงเรื่องคุณภาพสินค้าเป็นหลักในการตัดสินใจก่อนเสมอ คุณเองในฐานะผู้ผลิตจึงควรตระหนักถึงเรื่องคุณภาพในกระบวนการผลิตด้วย
แอตลาส คอปโก้ เราเข้าใจผู้ผลิต ในฐานะผู้นำด้านระบบอัดอากาศ เราจึงอยากให้คุณทำความเข้าใจในเรื่องของคุณภาพอากาศอัด (compressed air) ที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยบทความในวันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของ ISO class ต่างๆ ตั้งแต่ ISO 8573-1:2010 ที่เราใช้เป็นมาตรฐานวัดระดับคุณภาพของลมอัดเพื่อให้ได้คุณภาพอากาศที่เหมาะสมกับการใช้งานกัน เพราะความบริสุทธิ์ของอากาศอัดเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องความสมบูรณ์และประสิทธิภาพในการผลิต
ISO 8573-1:2010 มาตรฐานชี้วัดคุณภาพอากาศอัด
ระบบอัดอากาศที่ดีควรจะมีตัวกรอง (Air filter)
ทำไมคุณต้องรู้ว่าคุณภาพอากาศอัดของคุณบริสุทธิ์เพียงใด?
● การใช้งานระบบอัดอากาศบางอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้อากาศอัด (compressed air) ที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมนั้นๆ และหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับกรณีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด
● ตามกฎทั่วไปแล้ว ยิ่งต้องการความบริสุทธิ์ของอากาศอัดมากเท่าไหร่ กระบวนการผลิตก็จะยิ่งมีราคาสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ไส้กรอง (Filter) หรือเครื่องทำลมแห้ง (Dryer) ก็จะมีค่าไฟฟ้าตามมา ดังนั้นการเลือกใช้ความบริสุทธิ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานจะช่วยให้คุณประหยัดเงินในกระเป๋าและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
จะทราบได้อย่างไรว่าการใช้งานของคุณควรใช้คุณภาพระดับใด?
สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป การเลือกค่าความบริสุทธิ์ของอากาศอัดก็เหมือนกับงานที่น่าปวดหัวงานหนึ่ง อย่างไรก็ตามเรามีสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ มาตฐาน ISO 8573-1:2010
ISO 8573 เป็นมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของลมในระบบอากาศอัด (compressed air) ซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ตามสิ่งเจือปนในอากาศจำพวกฝุ่นละออง น้ำ ก๊าซ การปนเปื้อนทางจุลชีววิทยา และน้ำมัน
ซึ่งมาตรฐาน ISO 8573-1:2010 นี้จะเป็นตัวชี้วัดระดับความบริสุทธิ์ของอากาศ ทำให้ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศสามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
ISO 8573-1:2010 คืออะไร?
มาตรฐาน ISO แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามประเภทของสิ่งปนเปื้อน ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่ง อนุภาคของแข็ง ฝุ่นละอองต่างๆ กลุ่มที่สอง อนุภาคของเหลว ละอองและไอน้ำ กลุ่มที่สาม อนุภาคของน้ำมัน ละอองน้ำมันและไอน้ำมัน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีระดับความบริสุทธิ์ที่แตกต่างกันถึง 10 ระดับ (อนุภาคของแข็งมี 8 ระดับ ของเหลว 10 ระดับและน้ำมัน 5 ระดับ)
การเลือกระดับความบริสุทธิ์ของอากาศอัด (compressed air) ให้เหมาะสมกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ใช้งานระบบอัดอากาศ วิธีการดูง่ายๆ เลยคือ ยิ่งตัวเลขระดับมีค่าน้อยมากเท่าไหร่ นั่นหมายความว่าอากาศก็ยิ่งบริสุทธิ์มากเท่านั้น เช่น อากาศระดับ class 4 จะมีสิ่งปนเปื้อนมากกว่าอากาศระดับ class 3
ในกรณีของอนุภาคของแข็ง มาตรฐานระดับ class ความบริสุทธิ์จะเป็นตัวกำหนดปริมาณสิ่งปนเปื้อนในอากาศที่สามารถบรรจุได้ต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนนี้จะแบ่งย่อยเพิ่มเติมตามขนาดอนุภาค ตัวอย่างเช่น class 1 ต้องมีอนุภาคขนาดไม่เกิน 20,000 หรือน้อยกว่าที่มีขนาด 0.1-0.5 ไมครอน 400 หรือน้อยกว่าอนุภาคที่มีขนาด 0.5-1 ไมครอนและ 10 หรือน้อยกว่าอนุภาคที่มีขนาด 1-5 ไมครอน (หน่วยไมครอน เป็นหน่วยวัดขนาดและเท่ากับ 1/1000 ของมิลลิเมตร) class 2 ต้องการอากาศที่มีอนุภาค 400,000 หรือน้อยกว่าที่มีขนาด 0.1-0.5 ไมครอน 6,000 หรือน้อยกว่าอนุภาคที่มีขนาด 0.5-1 ไมครอนและ 100 หรือน้อยกว่าอนุภาคที่มีขนาด 1-5 และ class 3 จะไม่ได้ระบุปริมาณของอนุภาคและเริ่มต้นด้วย class 6 มาตรฐาน ISO ระบุเฉพาะความเข้มข้นของมวลของอนุภาคในหน่วยมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
ในกรณีของเหลว ระดับ class จะเข้มงวดมากขึ้น ตามระดับค่า pressure dew point ซึ่งเริ่มต้นที่ class 7 โดยพิจารณาจากปริมาณของเหลวในอากาศที่มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากค่า pressure dew point ของ class 1 ต้องมีอย่างน้อย -70 องศาเซลเซียส ในขณะที่ class 9 สามารถมีน้ำหรือไอน้ำได้มากถึง 5-10 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
เลือกตัวกรองอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ISO
ตัวกรอง (Filters) และการนำไปประยุกต์ใช้งาน
เมื่อคุณทราบแล้วว่าการใช้งานอากาศอัด (compressed air) ของคุณควรเลือกใช้มาตรฐาน ISO ระดับ class ใด คราวนี้คุณก็สามารถวางแผนการติดตั้งอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวกรองอากาศ (Air filter) ได้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวกรองอากาศ (Air filter) ได้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวกรองอากาศ (Air filter) ได้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวกรองอากาศ (Air filter) ได้ ที่นี่ หากคุณต้องการความช่วยเหลือ หรือกำลังตัดสินใจว่าควรเลือกใช้อุปกรณ์ใด ก็สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญ จากแอตลาส คอปโก้ Atlas Copco ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand เรายินดีให้คามช่วยเหลือค่ะ
Filters Air dryers ไดรเออร์ (Air dryer) การบำบัดก๊าซและอากาศ Refrigerant dryers ตัวกรอง ไดรเออร์ดูดความชื้น