วิธีลดค่าไฟในระบบอัดอากาศ (compressed air)

เราจะลดต้นทุนในช่วงสถานการณ์โควิดที่มีการผลิตช้าลงได้อย่างไร?

6 วิธีลดค่าไฟในระบบอัดอากาศ (How to reduce compressed air energy costs)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทำให้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์การล็อกดาวน์ที่ส่งผลกระทบกับประชาชนและธุรกิจโดยตรง ตั้งแต่เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แรงงาน เกษตรกรทั่วโลก ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงัก หลายๆ ธุรกิจต้องปิดตัวลงไปก็มี เพื่อปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจในวิกฤตการณ์เช่นนี้ เราในฐานะผู้ผลิตจึงต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิตแต่ยังคงประสิทธิภาพ แอตลาส คอปโก้ เราเข้าใจ เนื่องจากโรงงานผลิตโดยมากจะมีระบบอัดอากาศเป็นต้นกำลังของระบบต่างๆ ซึ่งค่าไฟของระบบอัดอากาศนั้นคิดเป็น 12-40% ของต้นทุนด้านพลังงานทั้งหมด หากโรงงานผลิตของคุณต้องการลดค่าไฟในระบบอัดอากาศ เราพร้อมที่จะช่วยเหลือธุรกิจคุณ ด้วยเคล็ดลับ 6 ข้อนี้จะทำให้คุณประหยัดค่าไฟในระบบโรงงานได้มากเลยทีเดียว 

1. ลดชั่วโมง unloaded ของเครื่องอัดอากาศลง

Unloded คืออะไร? สภาวะ unloaded คือการที่เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressors) นั้นมีการสตาร์ทเครื่องพร้อมใช้งาน แต่ไม่มีการ run เครื่องหรือผลิตลมอัดออกมา ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมหาศาล เหมือนกับรถยนต์ที่มีการสตาร์ทรถ แต่ไม่มีการวิ่ง ก็ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน หากช่วงนี้คุณต้องการชะลอกำลังการผลิตลง เป็นผลให้มีความต้องการอากาศอัดผันผวน เราสามารถใช้ความผันผวนนี้ลดชั่วโมงการทำงานที่ Unloaded เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานรวมถึงลดค่าไฟในระบบอัดอากาศ 

การติดตั้งตัวควบคุมเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Compressor Controllers) ตัวคอนโทรลเลอร์ (Controller) นั้นใช้งานง่าย ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานให้แก่ระบบคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม ช่วยให้คุณวิเคราะห์การใช้พลังงานได้อย่างง่ายดาย สามารถติดตามตรวจสอบระบบคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมทั้งระบบ จึงช่วยให้ลดสภาวะที่เครื่อง unloaded หากคุณมีเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมหลายตัวสามารถตั้งค่าตัวควบคุมไว้อัตโนมัติ (Optimizer) แต่หากไม่มีตัวควบคุมส่วนกลาง (central controller) แสดงว่า pressure band ของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมคุณมีการติดตั้งแบบ cascade ที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งหมายความว่าเมื่อค่าแรงดันอากาศถึงจุดที่ตั้งไว้ ตัวควบคุมออนบอร์ด (on-board controller) จะสั่งให้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมหยุดทำงาน หากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมถูกปล่อยให้ทำงานแบบ unloaded หลังจากชั่วโมงทำงาน เครื่องอัดอากาศจะกินไฟมากถึง 25% ของการใช้งานแบบเต็มกำลัง หากมีการรั่วไหลในระบบ เครื่องอัดอากาศอาจจะสลับไปทำงานเป็นครั้งคราวทำให้กินไฟมากขึ้น ● การปิดเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ยิ่งเราลดกำลังการผลิตลงจะยิ่งช่วยให้เราลดค่าไฟในระบบอัดอากาศได้มากขึ้น ทำได้โดยการปิดเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแทนการปล่อยให้เครื่องอัดอากาศทำงานแบบ unload หากมีการผลิตลดลงแต่ไม่ถึงกับหยุดผลิต ให้คุณพิจารณาแยกพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานของโรงงานออกและปรับปรุงโครงสร้างให้สอดคล้องกับการผลิต

2. กำจัดรอยรั่วในระบบอัดอากาศ

รอยรั่วในระบบอัดอากาศถือเป็นแหล่งกินไฟขนาดใหญ่ โดยปกติแล้วการใช้พลังงานในระบบอัดอากาศทั้งหมดนั้นหายไปกับรอยรั่วมากถึง 20% ทำให้เราสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ แม้รอยรั่วที่มีขนาดเล็กเพียง 3 mm ก็อาจทำให้คุณสูญเสียเงินมากถึง 40,000 บาทเลยทีเดียว แต่หลายๆ คนมักจะมองข้ามปัญหานี้ และ 80% ของรอยรั่วเราไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นตำแหน่งไหน ดังนั้นหากระบบอัดอากาศของคุณมีการติดตั้งมานานแล้ว ให้คุณลองตรวจสอบรอยรั่วในระบบอากาศอัดของคุณว่ามีจุดที่ลมรั่วหรือไม่ (โปรแกรมตรวจสอบรอยรั่วในโรงงานด้วยระบบ airscan) หากตรวจสอบจุดลมรั่วและดำเนินการซ่อมแซมทันที ก็จะทำให้คุณลดค่าไฟในระบบอัดอากาศไปได้มาก

3. ลดค่า Pressure Band ลง

ตามหลักแล้ว การลดค่า pressure band (PSI) ของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมลง 1% จะช่วยให้ประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น 2% แต่ทั้งนี้การตั้งค่าแรงดันเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมควรปรับจนกว่าแรงดันจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว Pressure Band จะลดลงโดยที่ไม่มีผลต่อการใช้งาน หากระบบอากาศอัดของคุณมีการติดตั้งตัวควบคุมแบบ Centralization ที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องอัดอากาศหลายเครื่อง (multiple controller) ทำให้สามารถตั้งค่าวงจรให้ทำงานตาม pressure band ที่กำหนดได้ คุณจึงมั่นใจได้ว่าวงจรระบบบอัดอากาศจะตรงกับความต้องการของคุณอย่างแน่นอน นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกได้ว่าจะปรับตัวควบคุม (controller) เองหรือจะตั้งให้เป็นแบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดค่าไฟในระบบอัดอากาศ เมื่อระบบคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมมี Pressure band ที่เหมาะสม จะไม่เกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าเกินความจำเป็น

4. การนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่

อีกส่วนหนึ่งในโรงงานที่จะช่วยคุณลดค่าไฟในระบบอัดอากาศได้คือส่วนของระบบอัดอากาศ เราสามารถนำพลังงานความร้อนที่ไม่ใช้แล้วในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ได้ การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ (heat recovery) ช่วยให้คุณประหยัดพลังงาน หากไม่มีการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ ความร้อนนี้จะหายไปในชั้นบรรยากาศผ่านระบบระบายความร้อนและการแผ่รังสี โดยปริมาณพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องอัดอากาศที่คุณใช้และชั่วโมงการทำงานด้วย โดยทั่วไปแล้วพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้จะอยู่ระหว่าง 70-94%
การนำพลังงานความร้อนจากกการบีบอัดกลับมาใช้ใหม่ช่วยลดความจำเป็นในการซื้อพลังงาน ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลงและลดการปล่อยก๊าซ CO2 ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถผลิตน้ำร้อนที่ใช้ในห้องน้ำหรือผลิตฮีทเตอร์ที่ใช้ในที่ทำงาน คลังสินค้า ท่าเรือหรือทางเข้าบ้านได้เอง ซึ่งการผลิตน้ำร้อนหรือฮีทเตอร์ใช้เองจะช่วยให้คุณประหยัดเงินเพิ่มขึ้นได้จริง บางคนอาจจะยังไม่เห็นภาพว่าการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ดีอย่างไร? เทคโนโลยีการนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่นั้นสามารถช่วยลดค่าไฟในระบบอัดอากาศได้มากถึง 1.99% เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในอุตสาหกรรม หากคุณยังไม่เชื่อล่ะก็ลองเทียบกับการกำจัดมลพิษจากรถยนต์ดีเซลหรือเบนซินจำนวน 913,000 คันต่อปีหรือเปรียบได้กับการใช้ไฟฟ้ากว่า 1.544 ล้านครัวเรือนต่อปี

5. ตรวจสอบว่าคุณติดตั้งเครื่องอัดอากาศได้เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่

กระบวนการผลิตที่แตกต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม ย่อมมีความต้องการลมอัดที่แตกต่างกันไป โดยระบบอัดอากาศที่ใช้นั้นต้องมีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อจะได้ไม่เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและเป็นการลดค่าไฟในระบบอัดอากาศ หากการผลิตของคุุณมีกำลังการผลิตที่ไม่คงที่จนเป็นเหตุให้เครื่องอัดอากาศกำลังทำงานแบบ off-load หรือไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานาน เราขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดความเร็วคงที่ (fixed-speed compressor) เป็นเครื่องอัดอากาศชนิดปรับความเร็วรอบได้ (variable-speed drive) เนื่องจากเครื่องอัดอากาศชนิดปรับความเร็วรอบได้จะช่วยผลิตอากาศอัดตามปริมาณการใช้ลมจริงเท่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องอัดอากาศอีกด้วย จึงช่วยประหยัดพลังงานได้โดยเฉลี่ย 35 - 50% เมื่อเทียบกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดความเร็วคงที่ที่แม้จะมีกำลังผลิตมากน้อย แต่ก็ยังคงผลิตลมอัดในประมาณเท่าเดิมเนื่องจากมีการตั้งค่าจำนวนความเร็วรอบของมอเตอร์ไว้แบบคงที่ เมื่อเริ่มเดินเครื่องเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง เครื่องจะทำงานแบบแบบ off-load ตามเวลาที่ตั้งไว้ เพื่อไม่ให้มอเตอร์ร้อนจนเกินไป แต่หากเป็นเครื่องอัดอากาศแบบ VSD เราสามารถควบคุมและปรับความเร็วรอบได้ตามความต้องการใช้งาน

6. อย่าละเลยการซ่อมบำรุงเมื่อถึงกำหนด

การดูแลรักษารถยนต์ที่ดีจะต้องมีการตรวจเช็คความพร้อมของรถเป็นระยะๆ เพื่อดูว่ามีชิ้นส่วนใดที่สึกหรอหรือไม่ ระบบอัดอากาศก็เช่นกัน การดูแลรักษาระบบอัดอากาศที่ดีที่สุดคือการดูแลด้านความพร้อมในการใช้งานของเครื่องอัดอากาศไปจนถึงอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบอัดอากาศการบำรุงรักษาระบบอัดอากาศเป็นประจำนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศแล้วยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบอัดอากาศรวมถึงช่วยลดค่าไฟในระบบอัดอากาศอีกด้วย การซ่อมบำรุงไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องอัดอากาศรุ่นเก่าเท่านั้น เครื่องอัดอากาศเครื่องใหม่ก็สามารถทำการเช็คสภาพเครื่องเมื่อครบกำหนดได้เช่นกัน พึงระลึกไว้ว่าเมื่อคุณจะทำการซื้ออะไหล่หรืออุปกรณ์ใดๆ เพื่อทำการซ่อมบำรุงรักษาระบบอัดอากาศ คุณควรจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากกผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้ เพื่อไม่ให้การทำงานของเครื่องอัดอากาศนั้นมีประสิทธิภาพลดลง ยิ่งเครื่องอัดอากาศของคุณมีอายุมากขึ้น ยิ่งต้องมีการหมั่นตรวจเช็คและซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอ

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ทางเทคนิค อากาศอัด 2021 งานซ่อมบำรุงและการบริการหลังการขาย

หากมีคำถามเพิ่มเติมคุณสามารถปรึกษาหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand

                                                            

                                                            

                                                            

                                                            

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

วิธีลดค่าไฟในระบบอัดอากาศ (compressed air)

explainer icon