ในภูมิทัศน์ด้านดิจิตอลของทุกวันนี้ มาตรการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรใดก็ตามที่ต้องการป้องกันข้อมูลและรักษาความเชื่อถือของลูกค้า การตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และระบบข้อมูลนั้นสำคัญต่อการควบคุมการรักษาความปลอดภัยให้เหมาะสม เพื่อให้ซอฟต์แวร์เป็นไปตามข้อกำหนดของการปฏิบัติตามและมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยด้านไอที
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คืออะไร
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นวิธีในการป้องกันระบบ เครือข่าย และข้อมูลจากการโจมตีทางดิจิตอล การเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต และความเสียหาย เป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยี กระบวนการและการควบคุมมาใช้เพื่อปกป้องความสมบูรณ์ ความลับ และความพร้อมใช้งานของข้อมูลทั่วทั้งเครือข่าย แอปพลิเคชั่น และพื้นที่การรักษาความปลอดภัยเชิงปฏิบัติการ มีเป้าหมายเพื่อป้องกันภัยทางไซเบอร์ เช่น มัลแวร์ แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง และการโจมตีแบบปฏิเสธการให้บริการ ซึ่งอาจทำให้การทำงานสะดุด ข้อมูลลับถูกโจรกรรม หรือทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงอื่นๆ ต่อองค์กร
"มีการละเมิดข้อมูลเพิ่มขึ้น 72% ในปี 2023จากปี 2021 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่ผ่านมา" ตาม Forbes advisor
เหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
การทำการตรวจสอบและการประเมินความเสี่ยงเป็นประจำมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพราะการตรวจสอบเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถค้นหาจุดอ่อน มั่นใจถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนด และมีการป้องกันที่แข็งแกร่งต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น
- การค้นหาและการลดความเสี่ยง: การตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะช่วยประเมินประสิทธิผลของมาตรการการรักษาความปลอดภัย ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และให้คำแนะนำในการปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยง
- สร้างความมั่นใจถึงการปฏิบัติตาม: หลายอุตสาหกรรมต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดให้มีมาตรการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เฉพาะ การตรวจสอบนี้ช่วยสร้างความมั่นใจถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานซึ่งเป็นที่รู้จัก เช่น ISO 27001 เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการถูกปรับและการดำเนินคดี
- ปกป้องชื่อเสียงและความเชื่อถือ: การละเมิดข้อมูลอาจสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กรและความเชื่อถือจากลูกค้า การตรวจสอบเป็นประจำจะช่วยรักษาไว้ซึ่งสถานะการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง แสดงให้ลูกค้าและคู่ค้าเห็นว่าคุณให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างจริงจัง
- เพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองต่อเหตุการณ์: การตรวจสอบนี้จะประกอบด้วยการตรวจสอบแผนและขั้นตอนของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของคุณจะสามารถตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อการละเมิดด้านการรักษาความปลอดภัย
- ป้องกันค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด: การค้นหาและแก้ไขปัญหาช่องโหว่ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบเชิงรุกโดยใช้การตรวจสอบจะสามารถป้องกันความเสียหายที่มีราคาแพง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟู ค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย และค่าปรับ
-
$4.88 ล้าน
ค่าเสียหายเฉลี่ยทั่วโลกของการละเมิดข้อมูล (รายงาน IBM 2024)
-
2,365
การโจมตีทางไซเบอร์ที่พบในปี 2023 (Identity Theft Resource Center, 2023)
SOC 2 คืออะไร
การควบคุมบริการและองค์กร 2 (Service and Organization Controls (SOC 2)) เป็นกรอบการทำงานที่ออกแบบโดย สมาคมนักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา (American Institute of Certified Public Accountants (AICPA)) เพื่อจัดการการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีเป้าหมายที่องค์กรที่ดำเนินการกับข้อมูลของลูกค้า เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามเกณฑ์ในการดำเนินการกับข้อมูลดังกล่าว SOC 2 ยึดโยงอยู่กับ Trust Service Criteria (TSC) 5 ข้อ:
- การรักษาความปลอดภัย: เพื่อให้แน่ใจว่าระบบจะได้รับการป้องกันจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต
- การรักษาความลับ: เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้รับการกำหนดว่าเป็นความลับจะได้รับการป้องกัน
- ความพร้อมใช้งาน: เพื่อให้แน่ใจว่าระบบต่างๆ จะพร้อมสำหรับการทำงานและการใช้งานตามที่กำหนด
- ความเป็นส่วนตัว: เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดเก็บ ใช้งาน เก็บรักษา และเปิดเผยอย่างเหมาะสม
- ความสมบูรณ์ในการประมวลผล: เพื่อให้แน่ใจว่าระบบจะประมวลผลข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันท่วงที
การปฏิบัติตาม SOC 2 จะได้รับการยืนยันผ่านการตรวจสอบของบุคคลที่สาม ซึ่งจะประเมินประสิทธิผลของการควบคุมขององค์กรใน TSC รายงาน SOC 2 นั้นสำคัญสำหรับองค์กรบริการเพื่อบ่งชี้ถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ISO 27001 คืออะไร
ISO 27001 (รวมถึง ISO/IEC 27001:2022) เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบการจัดการการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (ISMS) ที่พัฒนาขึ้นโดย องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) และ คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานอิเล็กทรอเทคนิกส์ (IEC) โดยจะให้คำแนะนำที่เป็นระบบสำหรับการพัฒนา การนำไปใช้ การรักษา และการปรับปรุง ISMS
- การประเมินความเสี่ยง: การระบุความเสี่ยงของความปลอดภัยของข้อมูล และกำหนดวิธีการจัดการหรือบรรเทาความเสี่ยง
- การควบคุมการรักษาความปลอดภัย: การนำการควบคุมมาใช้เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่พบ
- การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: การตรวจสอบและปรับปรุง ISMS อยู่เสมอเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความปลอดภัยที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
หน่วยงานการรับรองที่ได้รับการรับรองจะเป็นผู้ให้การรับรอง ISO 27001 หลังจากทำการตรวจสอบสำเร็จแล้ว การได้รับ ISO 27001 เป็นการแสดงต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้าว่าองค์กรนั้นยึดมั่นและสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
SOC 2 และ ISO 27001 เหมือนกันอย่างไรบ้าง
- เป้าหมาย: กรอบการทำงานทั้งสองมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กรและทำให้ลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรู้สึกมั่นใจว่าข้อมูลของตนจะได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย
- ข้อกำหนดในการตรวจสอบ: ทั้ง SOC 2 และ ISO 27001 นั้นต้องการการตรวจสอบจากภายนอกที่ทำโดยบุคคลที่สามเพื่อยืนยันถึงการปฏิบัติตาม
- การจัดการความเสี่ยง: มาตรฐานทั้งสองเน้นถึงความสำคัญของการจัดการความเสี่ยง รวมถึงการระบุและการบรรเทาความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
SOC 2 และ ISO 27001 แตกต่างกันอย่างไร
- ขอบเขตและการมุ่งเน้น: SOC 2 มุ่งเน้นในองค์กรบริการที่จัดการกับข้อมูลของลูกค้า โดยเน้นที่การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความลับ และความเป็นส่วนตัวในบริการเหล่านั้น ในขณะที่ ISO 27001 จะมีความครอบคลุมมากกว่า และใช้ได้กับทุกองค์กร โดยไม่คำนึงถึงขนาดและอุตสาหกรรม ครอบคลุมด้านการควบคุมการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่กว้างขวางมากกว่า เช่น ความต่อเนื่องทางธุรกิจ การปฏิบัติตามกฎหมาย และการจัดการความเสี่ยง
- ใบรับรองหรือการรับรอง: ISO 27001 เป็นการรับรองโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรองที่องค์กรสามารถแสดงการรับรองต่อสาธารณะ ส่วน SOC 2 จะให้รายงานการรับรองโดย CPA (Certified Public Accountant) ที่มักจะแสดงต่อลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางรายเท่านั้น
- มุ่งเน้นระดับโลกหรือในสหรัฐอเมริกา: ISO 27001 นั้นเป็นมาตรฐานซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลก ขณะที่ SOC 2 เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยเฉพาะในบริบทของผู้ให้บริการ Software as a Service (SaaS) และผู้ให้บริการอื่นๆ
โดยสรุป ขณะที่ทั้ง SOC 2 และ ISO 27001 มุ่งเน้นเพื่อสร้างการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ แต่ SOC 2 มุ่งเน้นในภาคส่วนผู้ให้บริการในสหรัฐอเมริกาที่เน้นในด้านการจัดการข้อมูลเท่านั้น ขณะที่ ISO 27001 เป็นมาตรฐานสากลที่มีขอบเขตการนำมาใช้ที่กว้างกว่า และมุ่งเน้นในระบบการจัดการการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (ISMS) ที่ครบวงจร
ALTURE®️ ได้รับการตรวจสอบและรับรองอย่างไร
สภาพแวดล้อมการควบคุมนั้นมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของมาตรการการรักษาความปลอดภัยภายในองค์กร ในการทำการประเมิน การออกแบบและการนำระบบควบคุมของ ALTURE®️ มาใช้ได้รับการตรวจสอบและทดสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระที่เป็นบุคคลที่สาม ซึ่งได้พูดคุยกับพนักงานของ Atlas Copco ที่รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัย ตรวจสอบการทำงานของพวกเขา และตรวจสอบความพยายามของฝ่ายบริหารในการปรับปรุงการควบคุม ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะนำทางการทดสอบโดยมุ่งเน้นในหลักการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
กรอบการทำงานและเกณฑ์ของทั้ง ISO 27001 และ SOC 2 (ทั้ง Type I และ Type II) ช่วยเป็นแนวทางให้ Atlas Copco มุ่งสู่แนวปฏิบัติที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการระบุความเสี่ยงและภัยคุกคาม เราจะสามารถคาดการณ์และดำเนินการเชิงรุกเพื่อการป้องกันได้ดียิ่งขึ้น เอกสารและระบบการควบคุมที่ชัดเจนจะช่วยให้มั่นใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดจะปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุด ด้วยการทำตามข้อกำหนดการตรวจสอบได้ครบถ้วน ALTURE®️ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สูงสุด และป้องกันข้อมูลสำคัญอยู่เสมอ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- Certificate of Registration ISO27001 254.1 kB, PDF
หากต้องการรายงานการตรวจสอบ SOC 2 Type I และ Type II โปรดติดต่อตัวแทน Atlas Copco ของคุณ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ใครเป็นบุคคลที่สามผู้ทำการตรวจสอบอิสระให้กับ ALTURE®️
- ผู้ตรวจสอบอิสระของ ALTURE®️ คือ KPMG AB and KPMG IT Certification Ltd.
รายงาน SOC 2 Type I และ SOC Type II นั้นต่างกันอย่างไร
- SOC Type I จะกำหนดเค้าโครงของระบบการควบคุมขององค์กรบริการและการนำกระบวนการปฏิบัติตามมาใช้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
- SOC Type II จะประเมินการออกแบบ ประสิทธิผลการปฏิบัติการ และการปฏิบัติตามในช่วงเวลาหนึ่ง ปกติแล้วประมาณ 6-12 เดือน