6 สิ่่งที่จะช่วยพัฒนาระบบลมอัดของคุณเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต
ไดรเออร์ (Air dryer) Atlas Copco เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ถังลม เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ไดรเออร์เมมเบรน (Membrane dryers) อาฟเตอร์คูลเลอร์ อุปกรณ์แยกน้ำมันออกจากน้ำ 2020 ตัวกรอง ไดรเออร์สารทำความเย็น (Refrigerant dryers) ไดรเออร์ดูดความชื้น
คุณรู้ไหมว่าอากาศที่สะอาดและมีคุณภาพนั้นสำคัญอย่างไร เพราะสิ่งที่คุณมองไม่เห็นสามารถทำร้ายคุณได้ ตัวกรองคุณภาพอากาศเปรียบเหมือนหน้ากากอนามัยที่คอยปกป้องคุณจาก PM 2.5 ทำให้เราเห็นว่าเครื่องหรือตัวกรองอากาศนั้นสำคัญมากแค่ไหน รวมถึงในแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมและระบบอัดอากาศก็เช่นกัน วิธีแก้ปัญหาคือเราต้องใช้อุปกรณ์เสริมควบคู่ไปกับระบบอัดอากาศ โดยการเพิ่มตัวกรองอากาศมากขึ้นหลังจากการบีบลมอัดเพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพลมที่เราจะได้รับในระบบการผลิต เราสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ในระบบคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมได้อย่างง่ายดาย มาดูกันค่ะว่าอุปกรณ์เสริมที่ช่วยกรองลมอัดของคุณให้มีคุณภาพนั้นมีอะไรบ้าง
1. เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryers)
- เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) ชนิดใช้น้ำยาเติมทำความเย็นหรือสารหล่อเย็น (Refrigerated Dryers)
เป็นเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) แบบปกติ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งแบบน้ำและแบบ air-cooled โดยเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) ชนิดนี้ใช้แผงทำความเย็นและตัวส่งความร้อนเพื่อ pre-cool ระบบอัดอากาศ โดยทำให้อากาศเย็นลงจนถึงระดับที่ไอน้ำเกิดการควบแน่นเพื่อกำจัดไอน้ำในระบบจากนั้นจึงทำให้อากาศร้อนใหม่เพื่อป้องกันเหงื่อที่จะเกิดขึ้นที่ท่อขึ้นเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) ชนิดนี้สามารถทำ pressure dew pointได้ต่ำสุดอยู่ที่ +37.4 F/+3°C
- เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) ชนิดที่ใช้เม็ดสารดูดความชื้น (Desiccant Dryers) ประกอบไปด้วยถังจำนวนสองถังที่บรรจุสารดูดความชื้นที่มีลักษณะพิเศษพร้อมด้วยตัวเครื่องทำลมแห้ง ในขณะที่ถังหนึ่งกำลังทำให้ลมอัดแห้ง อีกถังหนึ่งก็ผลิตอากาศอันใหม่ เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) ชนิดที่ใช้เม็ดสารดูดความชื้นนี้สามารถทำจุด dew points ได้ต่ำสุดที่ -40 ° F / -40 ° C และ -100 ° F / -70 ° C โดยการใช้สารดูดความชื้นที่มีรูพรุนดูดซับความชื้นโดยการเก็บไว้ในรูจำนวนนับไม่ถ้วนที่ปล่อยให้น้ำปริมาณมากถูกกักเก็บโดยสารดูดความชื้นที่ค่อนข้างเล็ก ได้แก่ ซิลิกาเจล เม็ดสารดูดความชื้นอลูมินาและ molecular sieves
- เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) ชนิดเมมเบรน(Membrane Dryers)
เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) ชนิดนี้ประกอบไปด้วย ถังขนาดใหญ่ด้านในมีเส้นใยโพลีเมอร์เคลือบอยู่ ตัว filter จะทำการกรองอากาศที่มีความชื้นปนอยู่เข้าไปในกระบอกสูบ เมมเบรนตัวนี้จะช่วยดูดซับไอน้ำในขณะที่อากาศแห้งนั้นจะผ่านเส้นใยเข้ากระบอกสูบที่แรงดันคงที่
2. ตัวกรองอากาศ(Filters)
ในระบบอัดอากาศนั้นเต็มไปด้วยละอองไอน้ำและไอน้ำมันที่ปนเปื้อนในระบบอัดอากาศ ทำให้เกิดอันตรายต่อเจ้าของธุรกิจและตัวแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน ไส้กรองจึงเป็นส่วนหนึ่งของระบบอัดอากาศ เพราะช่วยดักจับอนุภาคและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่อาจปนเปื้อนมาใน ระบบอัดอากาศ โดยทั่วไปแล้วตัวกรองอากาศ (filter) ทำงานเพื่อกำจัด สิ่งปนเปื้อนออกจากระบบอัดอากาศหลังจากที่มีการบีบอัดเกิดขึ้น ไส้กรองมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความต้องคุณภาพอากาศตามการใช้งานของคุณ :
- ตัวกรองฝุ่น (Particulate Filters)
ตัวกรองฝุ่นนั้นสามารถกำจัดอนุภาคของแข็งและอนุภาคแบบแห้งทุกขนาดในระบบอัดอากาศได้ ยิ่งอนุภาคมีขนาดที่ละเอียด (การวัดเป็นไมครอน) ยิ่งมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากอายุการใช้งานของไส้กรองและแรงดันของระบบจะลดลง ตามมาตรฐาน ISO 8573-1: 2010 ไส้กรองชนิดนี้สามารถใช้เพื่อระบุระดับความต้องการในการกำจัดอนุภาคของแข็งได้
- ตัวกรองน้ำมัน (Coalescing Filters)
ไส้กรองชนิดนี้จะทำการรวมของเหลวจากละอองเล็กๆ รวมจนมีขนาดใหญ่ จากนั้นจะไหลออกจาก filter แล้วไหลเข้าสู่ตัวที่ใช้ดักจับของเหลว ทำให้เครื่องสะอาดและระบบอัดลมนั้นแห้ง filter ชนิดนี้ไม่เหมาะสมกับการดักจับไอน้ำ
- ตัวกรองไอน้ำ (Vapor Removal Filters)
ตัวกรองชนิดนี้ใช้กระบวนการดูดซึมเพื่อที่จะดักจับก๊าซปนเปื้อนที่ผ่านเข้ามาในตัวกรองน้ำมัน โดยการใช้ถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) ผ้าคาร์บอนหรือกระดาษกรอง และไส้กรองไอน้ำที่สามารถดักจับและกำจัดก๊าซปนเปื้อนได้ สาเหตุที่ใช้ Activated Charcoal หรือ Activated Carbon (ถ่านกัมมันต์) เพราะว่าเป็นตัวกรองที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีโครงสร้างรูที่ใหญ่ จึงทำให้ดูดซึมง่าย
3. เครื่องแยกน้ำมันออกจากน้ำ (Oil-Water Separators)
ในกระบวนการผลิตอากาศอัดทำให้เกิดการควบแน่นจำนวนมากซึ่งประกอบไปด้วยน้ำมันและสารปนเปื้อนอื่นๆ จึงมีการสะสมสิ่งปนเปื้อนเป็นจำนวนมาก และกำจัดสิ่งปนเปื้อนนี้อาจทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่นั่นเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก อุปกรณ์แยกน้ำและน้ำมัน จะดักจับน้ำมันในระบบแอร์คอมเพรสเซอร์หลังจากเกิดการควบแน่นซึ่งถือว่าเป็นการกำจัดอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การแยกน้ำและน้ำมันผ่านระบบการกรองแบบหลายขั้นตอน ทำให้สามารถระบายออกสู่ระบบบำบัดน้ำเสียและมีการจำกัดปริมาณของน้ำมันที่ต้องใช้การกำจัดแบบพิเศษ
4. ตัวระบายน้ำทิ้ง (drains)
บางครั้งอุปกรณ์ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพลมอัดนั้นอาจถูกละเลยไป อย่างตัวระบายน้ำทิ้ง (Drain) นั้นต้องมีการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้องเพื่อช่วยให้ตัวกรองและตัวแยกนั้นสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นระบบระบายน้ำทิ้งแบบอัตโนมัติ ที่เป็นศูนย์รวมการทำงานหลายจุดของระบบอัดอากาศ รวมไปถึงตัวระบายความร้อน (aftercooler), ตัวกรองของช่องระบายน้ำทิ้ง (filter drains), ระบบระบายน้ำทิ้งของเครื่องทำลมแห้ง(refrigerant dryer drains), บริเวณส่วนล่างของถังลม (the bottom of the air receiver), ส่วนอื่นๆ หลังจากระบบอัดอากาศ กรณีตัวระบายน้ำทิ้งถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถรับรู้ได้ว่าเกิดการควบแน่นจากเซ็นเซอร์ที่ใช้ตรวจวัดระดับของเหลว และรู้ว่าเมื่อใดที่มีความจำเป็นที่จะต้องระบายออกหากมีการควบแน่นที่จุดนั้น ทำให้ลดความเสียหายของระบบปั๊มลมได้
5. ถังเก็บลม (Air Receivers)
เป็นที่รู้จักกันว่าถังเก็บลมอัด โดยถังเก็บลมได้ถูกนำมาใช้ในการจัดเก็บอากาศอัดก่อนที่จะเข้าสู่ท่อหรืออุปกรณ์ในระบบอัดอากาศ ทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงปะทะระหว่างแรงกดดันที่เกิดจากความต้องการด้านแรงดันที่ผันผวนและตัวเครื่องอัดอากาศเอง นอกจากนี้เรายังสามารถใช้อากาศอัดจากถังเก็บลมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยการลดแรงดันที่ไม่เสถียรในจุดที่สูงสุด, ความถี่ในการเริ่มใช้งานหรือการหยุดใช้งานเครื่องแอร์คอมเพรสเซอร์ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดการควบแน่นเข้าสู่ท่อลม (airnet)
6. เครื่องระบายความร้อน (Aftercoolers)
สิ่งสุดท้ายที่จะช่วยพัฒนาระบบอัดอากาศของคุณก็คือเครื่องระบายความร้อน เครื่องระบายความร้อนคือเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่ทำให้ระบบอัดอากาศที่กำลังร้อนอยู่เย็นลงเพื่อกำจัดน้ำที่จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในระบบท่อหรืออุปกรณ์ของแอร์คอมเพรสเซอร์ มีหลายกรณีที่เครื่องระบายความร้อนได้รับการติดตั้งอยู่ในตัวเครื่องแอร์คอมเพรสเซอร์ เครื่องระบายความร้อนจะกำจัดทั้งความชื้นและไอน้ำในระบบอัดอากาศโดยการทำให้อากาศเย็นลงภายใต้จุดน้ำค้าง (dew point) เกิดจากไอน้ำจะควบแน่นเป็นของเหลว เครื่องระบายความร้อนสามารถใช้ได้ทั้งแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (water-cooled) หรือระบายความร้อนด้วยอากาศ (air-cooled) โดยทั่วไปจะมีการติดตั้งเครื่องแยกน้ำแบบอัตโนมัติไว้ซึ่งควรวางไว้ใกล้กับเครื่องอัดอากาศ
สุดท้ายนี้ การจะตัดสินใจว่าเราควรจะติดตั้งอุปกรณ์เสริมแบบไหน ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานเป็นหลัก ว่างานชนิดนั้นๆต้องการคุณภาพอากาศมากระดับใด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ระบบอัดอัดอากาศของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line: @atlascopcothailand