AIRnet System

ติดตั้งท่อลมอย่างไร ให้ทำงานร่วมกับปั๊มลมได้ดีที่สุด?

งานซ่อมบำรุงและการบริการหลังการขาย Operations Wiki สำหรับระบบอากาศอัด Airnet 2019 2018 ทางเทคนิค 2017

การเดินท่อลมเพื่อให้ทำงานร่วมกับคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากติดตั้งไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาลมรั่ว, pressure drop (ลมตก), การปนเปื้อน หรือ ปัญหาเครื่องขัดข้องจนเสียหายต่อระบบการผลิต ดังนั้น คุณจึงต้องมีการออกแบบระบบท่อลมให้เหมาะสมกับคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมของคุณ

การออกแบบระบบท่อลม

การออกแบบระบบท่อลมที่ดีต้องดูองค์ประกอบหลายๆอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • การออกแบบระบบท่อลมที่ดีต้องดูองค์ประกอบหลายๆอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น
  • การออกแบบระบบท่อลมที่ดีต้องดูองค์ประกอบหลายๆอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น
  • การออกแบบระบบท่อลมที่ดีต้องดูองค์ประกอบหลายๆอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น
  • ขนาดท่อลม
  • การจัดตำแหน่งวางท่อลม
  • การเดินท่อ Header
  • 1. ขนาดท่อลม

    Capturefile: C:\Documents and Settings\StudioPC\Desktop\WORK\FD120-285\airnet\A.tif
CaptureSN: CT010132.005540
Software: Capture One PRO for Windows
    การเลือกขนาดท่อลมให้เหมาะสมกับคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด เพราะหากเลือกท่อลมผิดขนาด อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าเป็น pressure drop (ลมตก) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมต้องทำงานหนักมากขึ้น หากลมตกมากๆอาจจะถึงขั้นทำให้ลมไม่เพียงพอต่อการใช้งานของเครื่องจักรได้ และหากท่อลมมีขนาดเล็กเกินไป ความเร็วของลมในท่อจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ลมในวาล์วและข้อต่อเกิดความแปรปรวนจนอ่านแรงดันที่แม่นยำได้ยาก สมมุติว่าเรามีคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม 25hp สามารถผลิตลมได้ 100 cfm ที่แรงดัน 100 psi หากเราเพิ่มขนาดท่อลมจาก 1” เป็น 1.5” จะช่วยลดการเกิด pressure drop (ลมตก) ได้เป็นอย่างมาก และสามารถประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น 1 - 1.5% นอกจากนี้ขนาดของท่อลมที่เหมาะสมยังช่วยลดจำนวนข้อต่อและข้องอ ซึ่งช่วยลดการรั่วไหลของลมที่อาจเกิดขึ้นตามจุดเชื่อมต่อต่างๆ ช่วยประหยัดเวลาในการถอดข้อต่อ และประหยัดเงินให้แก่ผู้ใช้งานได้อีกด้วย

    2. การวางผังท่อลม

    การวางผังท่อลมนั้น เป็นสิ่งสำคัญมากพอๆกับการเลือกขนาดหรือเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อลม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของลม และลดปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ การออกแบบการเดินท่อที่ต้องมีจุดแยกสำหรับนำไปใช้งานหลายจุดนั้น ต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การทำให้มีแรงดัันเท่ากันตลอดทั้งโรงงาน การเดินท่อแบบเดี่ยว โดยมีจุดแยกสำหรับนำไปใช้งานหลายจุด ส่งผลให้้จุดใช้งานที่ไลน์ผลิตได้รับ airflow ลดลง นอกจากนี้ตัวแปลงความดัน (pressure transducers) ที่ติดตั้งอยู่ในระบบอาจอ่านค่าความดันได้หลายค่า ขึ้นอยู่กับว่าตัวแปลงนั้นติดตั้งอยู่ที่จุดไหน ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของลม ผู้ใช้งานควรวางผังท่อลมเป็นรูปแบบวงแหวน (ring) เพื่อให้มี airflow อย่างสม่ำเสมอ และทั่วถึงทั้งโรงงาน

    3. การเดินท่อ Header

    Piping header

    สุดท้ายนี้ ในลมอัดมักจะปะปนไปด้วยปริมาณไอน้ำจำนวนเล็กน้อย ซึ่งจะเกิดการควบแน่นและกลั่นออกมาเป็นหยดน้ำภายในท่อ จนเป็นสาเหตุของการเกิดสนิม เราจึงต้องทำการระบายน้ำเหล่านี้ออกไป ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันน้ำหรือสิ่งสกปรกไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าสู่คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมได้ นั่นก็คือ การต่อท่อระบายน้ำเข้าทาง Header ตามรูปภาพด้านบน

    atlas copco thailand 24/7 customer center

    แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

    125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24310

    ติดตั้งท่อลมอย่างไร ให้ทำงานร่วมกับปั๊มลมได้ดีที่สุด?

    explainer icon