slutas top banner

ระบบอัดอากาศรูปแบบใหม่ดีอย่างไร?

รูปแบบใหม่ของการจัดการระบบอากาศอัด

อากาศอัดที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับกระบวนการผลิตยานั้นต้องได้มาตรฐานที่ตามหลักอุตสาหกรรมยาและเป็นไปตามมาตรฐานระดับสูงของตลาดสหรัฐอเมริกา ด้วยวิกฤตการณ์โควิด19ในปัจจุบันจึงทำให้อุตสาหกรรมยาต่างๆ เริ่มหันมาใส่ใจระบบอากาศอัดกันมากขึ้น บริษัท Salutas หนึ่งในโรงงานผลิตยาของประเทศเยอรมันได้ทำการปรับปรุงรูปแบบของระบบอากาศอัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในกระบวนการทำงาน โดย Salutas ทำการปรับปรุงคุณภาพของระบบอากาศอัดของโรงงานที่เมือง Barleben ใหม่ทั้งหมด เพื่อประสิทธิภาพของการประหยัดพลังงานมากขึ้นรวมถึงเพิ่มความปลอดภัยในการจ่ายอากาศอัดที่เข้าไปยังไลน์ผลิต

Salutas switch to new compressed air concept
โรงงานผลิตที่เมือง Barleben มีพื้นที่กว่า17300 ตร.ม. โดยภายในโรงงานมีเครื่องผลิตยาอัดเม็ด(tablet press)ทั้งหมด 24 เครื่อง เครื่องบด (granulator)17 เครื่อง และเครื่องเคลือบ (coater) อีกจำนวน 10 เครื่อง ที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงส่วนประกอบที่ใช้ทำยาจำนวน 300 ตัวที่ผ่านกระบวนการผลิตเป็นยาแล้วประมาณ 15,500 ชนิด มีการบรรจุบน 24 สายพานและจัดส่งไปมากกว่า 75 ประเทศ สำหรับตลาดในประเทศนั้นในแต่ละวันมีการสั่งซื้อกว่า 1,200 รายการ และมีการจัดส่งกว่า 7,000 รายการในแต่ละสัปดาห์

ทำไมบริษัท Salutus ตัดสินใจปรับปรุงระบบอากาศอัดรูปแบบใหม่

Salutas Pharma GmbH
1. เพื่อประสิทธิภาพของอากาศอัดที่มีคุณภาพสูงตรงตามมาตรฐาน
Christian Dörge วิศวกรโครงการกล่าวว่าระบบอัดอากาศที่โรงงานผลิตในเมือง Barleben ต้องเป็นระบบอัดอากาศที่ได้มาตรฐานระดับสูงตามหลักของอุตสาหกรรมยา เพราะที่นี่เราทำงานตามมาตรฐาน ISO 8753-1 โดยใช้เกณฑ์คุณภาพที่ค่าฝุ่นและน้ำมันตกค้างเป็นไปตามตาม Class 1 ค่าความชื้นตกค้างตาม Class 2 (จุดควบแน่นลบ 40 องศาเซลเซียส)

2. ได้ความต่อเนื่องในการจ่ายอากาศอัดที่เชื่อถือได้
คุณ Dörge ยังกล่าวอีกว่าระบบอากาศอัดที่ดีควรจะจ่ายอากาศอัดอย่างต่อเนื่อง เพราะหากอากาศอัดขาดตอนจะส่งผลต่อกระบวนการผลิต อาจทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลงอย่างมาก

บริษัท Salutas Pharma GmbH ในเมือง Barleben ประเทศเยอรมนีเป็นโรงงานผลิตยาและศูนย์โลจิสติกส์ที่ทันสมัยมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป เราต้องการอากาศอัดที่สามารถควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น ใช้สำหรับกำจัดฝุ่นบนเม็ดยาที่ถูกบีบอัดแล้วและใช้ในกระบวนการผลิตพิเศษ

Christian Dörge , วิศวกรโครงการ ผู้มีหน้าที่ดูแลระบบอากาศอัด

Salutus เลือกใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบไร้น้ำมัน (Oil-free Compressor) และเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

บริษัท Salutas ตัดสินใจเลือกติดตั้งเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบไร้น้ำมัน (Oil-free Compressor) และเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) เพื่อตอบสนองความต้องการข้างต้นและประสิทธิภาพสูงสุดโดยติดตั้งระบบใหม่ทั้งหมดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือประมาณเดือนกันยายนในปี 2558 

สถานีแรกได้ติดตั้งเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบไร้น้ำมันรุ่น ZR ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ (ZR 160 VSD, ZR 160 และ ZR 200) จำนวน 4 เครื่อง  และเครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสาร รุ่น XD 850+ G ZP จำนวน 3 เครื่อง (G ย่อมาจาก Guaranteed pressure dew point หรือการรับประกันแรงดันที่จุดควบแน่น) รวมถึงตัวกรองจำนวน 3 ชุด ได้แก่ ตัวกรองอนุภาค-, ถ่านกัมมันต์- และตัวกรองขนาดเล็ก  ที่ช่วยผลิตอากาศคุณภาพสูงได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังมีเครื่องทำลมแห้ง (air dryer) XD ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะเพื่อเป็นส่วนประกอบในการทำลมแห้งที่ประหยัดพลังงานเมื่อใช้งานคู่กับเครื่องอัดอากาศ ZR ที่ปราศจากน้ำมัน 

ในสถานีที่ 2 ที่มีขนาดเล็กกว่าสถานนีแรกนั้นได้ติดตั้งคอมเพรสเซอร์จำนวน 2 เครื่อง ประกอบด้วย แอร์คอมเพรสเซอร์เครื่องแรกคือสกรู ZT ชนิดไร้น้ำมัน ( ZT 160 VSD และ ZT 145 ) และเครื่องทำลมแห้งแบบ Heat-Regenerating Adsorption จำนวน 2 เครื่อง BD 850+ ZP ที่มีฮีตเตอร์และเครื่องเป่าภายนอก เช่นเดียวกับตัวกรองอากาศอัด 2 ชุด 

ทุกสถานีจะมีเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบควบคุมความเร็ว และแบบความเร็วคงที่ผสมกัน สำหรับแต่ละสถานีจะมีคอมเพรสเซอร์ 1 เครื่องและไดรเออร์สำรอง 1  เครื่อง การทำงานของทั้ง 2 สถานีจะช่วยเหลือกันในกรณีที่อีกสถานีเกิดการขัดข้อง

ข้อกำหนดมาตราฐานสากลจาก Novartis Group ที่เกี่ยวข้องกับระบบอากาศอัด แนะนำว่ากระบวนการความร้อนจากการบีบอัดเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพในการคายความชื้นออกจากสารดูดความชื้น ทำให้เครื่องอัดอากาศสามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้นประมาณ 180 กิโลวัตต์ เมื่อเทียบกับระบบอัดอากาศก่อนหน้านี้

Christian Dörge , วิศวกรโครงการ ผู้มีหน้าที่ดูแลระบบอากาศอัด

ระบบอัดอากาศแบบใหม่ถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต

Christian Dörge ได้คาดการณ์ว่าระบบอัดอากาศแบบใหม่นี้จะทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น หลังจากมีการติดตั้งและปรับปรุงสถานีระบบอัดอากาศทีละขั้นตอนทั้งสองสถานีที่โรงงานผลิตในเมือง Barleben โดยการเช่าแอร์คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมขนาดใหญ่  เขาพบว่าการติดตั้งระบบอัดอากาศใหม่นี้ตอบสนองความต้องการของเขาและสิ่งเหล่านี้จะมีการบันทึกไว้ในระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐาน ISO 50001 ซึ่ง Salutas ตั้งใจที่จะนำมาใช้ภายในปีนี้ 

เราไม่เพียงแต่ลงทุนในด้านการจ่ายอากาศอัดเท่านั้น แต่เรายังได้ลงทุนถืงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในอนาคต เพราะว่ามาตรฐานของอากาศในอุตสาหกรรมเภสัชกรรมนั้นมีแนวโน้มจะสูงยิ่งขึ้น

Christian Dörge , วิศวกรโครงการ ผู้มีหน้าที่ดูแลระบบอากาศอัด

Atlas Copco 2020 เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน 2019 เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบหล่อลื่นด้วยน้ำมัน (Oil-lubricated compressors) ZS

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24310

ระบบอัดอากาศรูปแบบใหม่ดีอย่างไร?

explainer icon