21 พฤศจิกายน 2023
เวลาในการอ่านโดยประมาณ: 5 นาที
อากาศที่เราหายใจนั้นประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจนประมาณ 78% อย่างไรก็ตาม ก๊าซไนโตรเจนที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีระดับความบริสุทธิ์ที่สูงกว่า ดังนั้นในกระบวนการผลิตก๊าซไนโตรเจนนี้ จะทำการแยกโมเลกุลไนโตรเจนออกจากอากาศอัดที่แห้งและสะอาด ทำให้ได้แหล่งจ่ายก๊าซไนโตรเจนบริสุทธิ์ เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนเทคโนโลยี PSA จะช่วยให้คุณทำสิ่งนี้ได้ภายในสถานประกอบการ
การงานบางประเภท เช่น การเติมลมยาง และการป้องกันอัคคีภัยนั้นต้องการระดับความบริสุทธิ์ที่ค่อนข้างต่ำ (ระหว่าง 90% ถึง 97%) การใช้งานด้านอื่นๆ เช่น การแปรรูปอาหาร/เครื่องดื่ม และการหล่อแบบพลาสติกนั้นต้องการความบริสุทธิ์ในระดับที่สูงขึ้น (ตั้งแต่ 97% จนถึง 99.999%)
ในขณะที่จะนำก๊าซระดับความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การแปรรูปอาหาร ถ้าต้องการระดับความบริสุทธิ์ที่ไม่สูงมากนัก(น้อยกว่า 95%) มักจะใช้การผลิตก๊าซไนโตรเจนโดยใช้เทคโนโลยีเมมเบรน ซึ่งจะใช้การซึมผ่านเพื่อแยกก๊าซไนโตรเจนออกจากก๊าซอื่นๆ
การหาความรู้ที่หลากหลายเกี่ยวกับวิธีการเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีความพร้อมในการเลือกโซลูชั่นการผลิตก๊าซไนโตรเจนที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะของคุณที่สุด เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตก๊าซไนโตรเจนโดยใช้เมมเบรน เพื่อดูประโยชน์และการใช้งาน
รับชมวิดีโอนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับก๊าซไนโตรเจน
วิธีการดูดซับสลับความดัน (PSA)
วิธีการหนึ่งในการผลิตก๊าซไนโตรเจนก็คือ วิธีการดูดซับสลับความดัน (PSA) การดูดซับเป็นกระบวนการที่อะตอม ไอออน หรือโมเลกุลจากสาร เช่น อากาศอัด เกาะติดกับพื้นผิวของวัสดุดูดซับ
เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนเทคโนโลยี PSA จะแยกก๊าซไนโตรเจนออกจากก๊าซอื่นๆ โดยก๊าซอื่นๆ ที่มีอยู่ในอากาศอัด โดยจะถูกดูดซับ (ออกซิเจน, CO2 และไอน้ำ) และเหลือไว้เพียงก๊าซไนโตรเจนและก๊าซเฉื่อยอื่น อุปกรณ์นี้เป็นวิธีการผลิตก๊าซไนโตรเจนที่ง่าย เชื่อถือได้ และคุ้มค่า ซึ่งสามารถผลิตก๊าซไนโตรเจนปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องในระดับความบริสุทธิ์ที่ต้องการ
ระบบสองทาวเวอร์
เทคโนโลยี PSA จะดักจับก๊าซออกซิเจนจากอากาศอัด โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนจะถูกดักจับโดยคาร์บอนโมเลกุลาซีฟ (CMS) ซึ่งจะเกิดขึ้นในถัง 2 ถัง (ทาวเวอร์ A และทาวเวอร์ B) แต่ละถังจะมีCMA และทำงานสลับกันไปมาระหว่างกระบวนการแยกก๊าซไนโตรเจน และการกำจัดก๊าซออกซิเจนที่ถูกดักจับโดย CMS
อากาศอัดที่แห้งและสะอาดจะเข้าสู่ทาวเวอร์ A เนื่องจากโมเลกุลออกซิเจนมีขนาดเล็กกว่าโมเลกุลไนโตรเจน โมเลกุลออกซิเจนจึงสามารถเข้าไปยังรูของเม็ดสาร CMS และถูกดักเก็บไว้ที่เม็ดสาร CMS ซึ่งโมเลกุลไนโตรเจนที่ใหญ่กว่าไม่สามารถผ่านเข้าไปใน CMS จึงสามารถไหลออกจากตัวถัง A ได้ ทำให้ได้ก๊าซไนโตรเจนที่มีความบริสุทธิ์ตามที่ต้องการ ซึ่งระยะนี้เรียกว่าระยะการดูดซับหรือระยะการแยก
ไนโตรเจนส่วนใหญ่ที่ผลิตในทาวเวอร์ A จะออกจากระบบเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับใช้งานหรือจัดเก็บโดยตรง จากนั้นจะมีการนำไนโตรเจนส่วนปริมาณหนึ่งไหลผ่านเข้าสู่ทาวเวอร์ B ในทิศทางตรงกันข้าม การไหลนี้จะผลักออกซิเจนที่อยู่ใน CMS ในระยะการดูดซับก่อนหน้านี้ออกจากเครื่องผลิตไนโตรเจนเข้าสู่บรรยากาศ
การปล่อยลมออกในทาวเวอร์ B จะทำให้ CMS สูญเสียความสามารถในการจับกับโมเลกุลออกซิเจน โดยโมเลกุลออกซิเจนจะแยกออก CMS และปล่อยออกไปสู่บรรยากาศ
กระบวนการ"ทำความสะอาด"นี้ทำให้รูพรุนของ CMS มีที่ว่างสำหรับโมเลกุลออกซิเจนใหม่เพื่อจับตัวกับตัวกรองในระยะการดูดซัมในรอบถัดไป ระบบ PSA แบบสองทาวเวอร์จะสลับระหว่างดูดซึมและการนำสาร CMS กลับมาใช้ได้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตก๊าซไนโตรเจนในระดับความบริสุทธิ์ที่ต้องการได้ 24/7
การผลิตก๊าซไนโตรเจนในสถานประกอบการ
ติดต่อผู้เชี่ยวชาญระบบอากาศเพื่อช่วยหาโซลูชั่นการผลิตก๊าซไนโตรเจนในสถานประกอบการที่ดีที่สุด
ไนโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย E-book เกี่ยวกับเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการผลิตก๊าซไนโตรเจนเพื่อใช้เองในสถานที่ปฏิบัติงาน และสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณอย่างไร
คุณต้องการสอบถามถึงตัวเลือกสำหรับธุรกิจของคุณ หรือคุณมีคำถามเฉพาะ คลิกปุ่มด้านล่างเพื่อติดต่อเรา